ซิฟิลิส

ซิฟิลิสเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STI) ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย โดยปกติจะแพร่ผ่านการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด ทวารหนักหรือปากและ/หรือการสัมผัสกันแบบเนื้อแนบเนื้อ ซิฟิลิสจะทำให้เกิดตุ่มแผลที่ไม่เจ็บปวด (เรียกว่าแผลริมแข็ง) ซึ่งสามารถแพร่เชื้อไปยังผู้อื่นได้ง่าย ซิฟิลิสแพร่จากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่งผ่านการสัมผัสแผลโดยตรง แผลของผู้ที่มีเชื้อซิฟิลิสอาจพบได้ที่บริเวณช่องคลอด ทวารหนัก อวัยวะเพศชาย ถุงอัณฑะและบางครั้งที่ริมฝีปากและปาก

ผู้ป่วยซิฟิลิสอาจแสดงอาการในบางครั้งและบางครั้งอาการก็สงบลง อาการอาจสังเกตเห็นได้ไม่ง่ายนัก ไม่ว่าจะแสดงอาการหรืออาการสงบอยู่ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้สามารถแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นได้ง่ายโดยไม่รู้ตัว วิธีที่ดีที่สุดที่จะทราบคือการเข้ารับการตรวจเป็นประจำ

การติดเชื้อซิฟิลิสแบ่งออกเป็นสามระยะหลัก: ระยะที่หนึ่ง สอง และสาม สามารถรักษาซิฟิลิสให้หายขาดได้ง่ายด้วยยาหากเข้ารับการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ หากไม่รักษา อาการก็จะเลวร้ายลงและอาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพร้ายแรงได้

ลักษณะผิดสังเกตและอาการ

การแพร่เชื้อ

การป้องกัน

การตรวจ

การรักษา

นัยสำคัญต่อการปฏิบัติงาน

ซิฟิลิสเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STI) ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย โดยปกติจะแพร่ผ่านการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด ทวารหนักหรือปากและ/หรือการสัมผัสกันแบบเนื้อแนบเนื้อ ซิฟิลิสจะทำให้เกิดตุ่มแผลที่ไม่เจ็บปวด (เรียกว่าแผลริมแข็ง) ซึ่งสามารถแพร่เชื้อไปยังผู้อื่นได้ง่าย ซิฟิลิสแพร่จากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่งผ่านการสัมผัสแผลโดยตรง แผลของผู้ที่มีเชื้อซิฟิลิสอาจพบได้ที่บริเวณช่องคลอด ทวารหนัก อวัยวะเพศชาย ถุงอัณฑะและบางครั้งที่ริมฝีปากและปาก

ผู้ป่วยซิฟิลิสอาจแสดงอาการในบางครั้งและบางครั้งอาการก็สงบลง อาการอาจสังเกตเห็นได้ไม่ง่ายนัก ไม่ว่าจะแสดงอาการหรืออาการสงบอยู่ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้สามารถแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นได้ง่ายโดยไม่รู้ตัว วิธีที่ดีที่สุดที่จะทราบคือการเข้ารับการตรวจเป็นประจำ

การติดเชื้อซิฟิลิสแบ่งออกเป็นสามระยะหลัก: ระยะที่หนึ่ง สอง และสาม สามารถรักษาซิฟิลิสให้หายขาดได้ง่ายด้วยยาหากเข้ารับการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ หากไม่รักษา อาการก็จะเลวร้ายลงและอาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพร้ายแรงได้

ลักษณะผิดสังเกตและอาการ

ซิฟิลิสแต่ละระยะมีอาการแตกต่างกัน แต่โดยทั่วไปมักจะไม่แสดงอาการ ดังนั้น ต้องเข้ารับการตรวจเป็นประจำ

ระยะที่หนึ่ง – ‘ซิฟิลิสระยะที่หนึ่ง’

ซิฟิลิสระยะที่หนึ่งติดต่อได้ง่ายมาก อาการมักจะเริ่มจากการเป็นตุ่มแผล (แผลริมแข็ง) บริเวณอวัยวะเพศ ทวารหนักหรือปาก ผู้ที่มีซิฟิลิสอยู่ในระยะที่หนึ่งส่วนใหญ่จะมีแผลริมแข็งแค่เพียงจุดเดียวเท่านั้น แต่บางคนจะมีหลายจุด

ซิฟิลิสอาจไม่แสดงอาการ แต่หากมีอาการ อาการมักจะเกิดภายใน 3-4 สัปดาห์หลังสัมผัสเชื้อ (แต่อาจใช้เวลาถึง 90 วันกว่าตุ่มจะปรากฏ) หากทิ้งไว้โดยไม่ได้รักษา ซิฟิลิสระยะที่หนึ่งก็จะลุกลามไปสู่ระยะที่สองและสาม

ซิฟิลิสระยะที่หนึ่งมักจะไม่แสดงอาการ หากมีอาการ อาการเหล่านี้อาจได้แก่
  • มีตุ่มหนองเม็ดเล็ก ๆ หรือแตกเป็นแผล ไม่มีอาการเจ็บหรือกดแล้วเจ็บ
  • มีตุ่มนูนขนาดใหญ่ถึงสองเซนติเมตร
  • มีปื้นมันวาวหรือเป็นเมือกบนผิวหนัง ที่อาจดูเหมือนแผลพุพอง
  • มีตุ่มคล้ายกับหูด แต่หายไปเอง
  • มีตุ่มคล้ายกับตุ่มเริม แต่หายไปเองและอาจจะไม่เจ็บ
  • มีจุดตามร่างกายที่อาจจะดูเหมือนผดผื่นขนาดเล็ก ไม่คัน
  • มีจุดที่ไม่มีอาการเจ็บตรงต่อมทอนซิล
  • รู้สึกเหมือนถูกกัดที่แก้ม

ซิฟิลิสระยะที่หนึ่งจะเป็นอยู่ไม่กี่สัปดาห์ และตุ่มแผลอาจจะไม่เจ็บปวดหรือกดแล้วเจ็บ ด้วยเหตุนี้ หลายคนจึงไม่สังเกตเห็นถึงอาการ อาการจะหายไปเองหลังจากผ่านไปไม่กี่สัปดาห์ จากนี้ จะเข้าสู่ซิฟิลิสระยะที่สอง

ซิฟิลิสระยะที่หนึ่งอาจเกิดขึ้นพร้อมกับระยะที่สองได้เป็นเวลาสองสามสัปดาห์

ระยะที่สอง – ‘ซิฟิลิสระยะที่สอง’

หากคุณไม่ได้รับการรักษาในช่วงที่เริ่มมีอาการ แบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของซิฟิลิสก็อาจจะเข้าสู่กระแสเลือดและคุณจะเป็นซิฟิลิสระยะที่สอง อาการของระยะที่สองจะเป็นอยู่ 2-8 สัปดาห์หลังจากเกิดซิฟิลิสระยะแรก ระยะที่สองนี้มักจะสังเกตได้จากผื่นที่ไม่คัน หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่รักษา ซิฟิลิสระยะที่สองก็จะลุกลามไปสู่ซิฟิลิสระยะแฝงหรือระยะที่สาม

อาการของซิฟิลิสระยะที่สองอาจมีน้อยมากหรือไม่มีเลย ผลกระทบและอาการของซิฟิลิสระยะที่สองอาจได้แก่
  • ผื่นตามร่างกาย ซึ่งเป็น ๆ หาย ๆ และอาจจะ
    • เป็นสีออกแดง ๆ หรือน้ำตาล ๆ หรือเป็นจ้ำๆ
    • ไม่คัน
    • อาจจะเกิดขึ้นได้ทั่วร่างกาย แต่ส่วนใหญ่จะเกิดบริเวณมือหรือฝ่าเท้า
    • ผื่นเป็น ๆ หาย ๆ และอาจจะมีขนาดเล็กและมองไม่เห็น
  • รู้สึกไม่สบายทั่ว ๆ ไป ซึ่งจะเป็น ๆ หาย ๆ รวมถึง
    • อาการคล้ายกับไข้หวัดใหญ่
    • เจ็บคอ
    • เหนื่อยล้า ไม่มีแรง
    • ต่อมน้ำเหลืองบวม
    • ปวดตามข้อ
    • เบื่ออาหาร
    • ผมร่วง (สังเกตไม่ได้ชัดเจนเสมอไป)

อาการเหล่านี้อาจจะเป็น ๆ หาย ๆ หรือดูเหมือนจะหายไปได้เอง

ซิฟิลิสระยะที่สองอาจเป็นอยู่นานหลายปีก่อนที่จะเข้าสู่ระยะที่สาม

ผื่นที่อวัยวะเพศ

ในช่วงซิฟิลิสระยะที่สอง ผู้ที่มีเชื้ออาจมี ‘ผื่นที่อวัยวะเพศ’ เกิดขึ้น โดยเกิดขึ้นเมื่อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดซิฟิลิสเริ่มกระจายเข้าสู่ภายในผิวหนังตามรอยพับที่อวัยวะเพศ ปากและช่องคลอด ลักษณะผื่นนี้ไม่มีอาการที่ชัดเจน อย่างไรก็ตาม มีความเสี่ยงในการแพร่เชื้อมากขึ้นเนื่องจากมีแบคทีเรียรวมตัวอยู่เป็นจำนวนมาก

การรักษาซิฟิลิสจะช่วยรักษาให้ผื่นที่อวัยวะเพศหายไปด้วย

ซิฟิลิสระยะแฝง

หากไม่ได้รับการรักษา ซิฟิลิสระยะที่สองก็อาจพัฒนาเป็นซิฟิลิสระยะแฝง (หมายถึง ‘ซ่อนอยู่’ หรือ ‘ระยะพักตัว’) ผู้ที่มีซิฟิลิสทุกคนไม่จำเป็นต้องเข้าสู่ระยะนี้ ส่วนผู้ที่เข้าสู่ระยะนี้จะไม่มีอาการ อาจจะเป็นเวลานานหลายปี ในบางกรณี อาการจะไม่กลับมาเกิดขึ้นอีก แต่เชื้อจะไม่หายไป แบคทีเรียยังคงหลบซ่อนตัวอยู่เงียบ ๆ ภายในร่างกายและจะยังคงปรากฏให้เห็นได้จากการตรวจ

ความเสี่ยงในการแพร่เชื้อของระยะแฝงต่ำกว่าระยะอื่น ๆ มาก แต่ก็ยังสามารถแพร่เชื้อได้ รวมถึงระหว่างการตั้งครรภ์ด้วย

ระยะที่สาม – ‘ซิฟิลิสระยะแฝงช่วงปลาย’

ซิฟิลิสระยะที่สามอาจเกิดทับซ้อนกับซิฟิลิสระยะที่สอง

ซิฟิลิสระยะที่สามอาจเกิดได้นานถึง 30 ปีหลังจากระยะแรก ในระยะนี้ แบคทีเรียอาจทำลายอวัยวะเกือบทุกส่วนของร่างกาย รวมถึงหัวใจ สมอง ไขสันหลัง ตาและกระดูก ทำให้เกิดโรคหัวใจ อาการทางจิต ตาบอด หูหนวกและโรคทางระบบประสาท

ประมาณหนึ่งในสามของผู้ป่วยซิฟิลิสที่ไม่ได้รับการรักษาจะเป็นซิฟิลิสระยะที่สาม อาการของซิฟิลิสระยะที่สามแตกต่างกันตามระบบอวัยวะที่ได้รับผลกระทบ โดยปกติเชื้อจะไม่ติดต่อกันในระยะนี้

ซิฟิลิสระยะแฝงช่วงปลายสามารถวินิจฉัยได้ด้วยการตรวจซิฟิลิสจากเลือด

อาการและผลกระทบของซิฟิลิสระยะที่สามอาจได้แก่
  • ปัญหาในการควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ
  • อาการชา
  • ปัญหาด้านการมองเห็น
  • ปัญหาด้านการได้ยิน
  • อาการสมองเสื่อม
  • อาการชัก เห็นภาพหลอน โรคหลอดเลือดสมอง อาการผิดปกติทางจิต
  • กลั้นปัสสาวะไม่ได้
  • โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
  • มีรอยโรคที่ไม่ได้เกิดจากมะเร็งผิวหนัง ปาก และเนื้อเยื่อภายใน
  • หลอดเลือดแดงใหญ่ของหัวใจอักเสบ (หลอดเลือดแดงที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย) อาจทำให้ผนังหลอดเลือดแดงใหญ่บางลงและอาจทำให้เสียชีวิตได้

ไม่มีความเสี่ยงในการแพร่เชื้อจากการสัมผัสผิวหนังเมื่อเป็นซิฟิลิสระยะที่สาม

ซิฟิลิสระยะที่สามรักษาให้หายขาดได้ หากได้รับการวินิจฉัยและเข้ารับการรักษา แต่หากเกิดผลกระทบต่ออวัยวะและร่างกายไปแล้วก็ไม่สามารถรักษาให้กลับคืนสู่สภาพปกติได้แม้ว่าจะรักษาซิฟิลิสแล้วก็ตาม ซิฟิลิสระยะที่สามอาจสร้างความเสียหายให้กับหัวใจและสมองอย่างถาวร

การแพร่เชื้อ

โดยปกติ โรคซิฟิลิสจะติดต่อจากการสัมผัสกันแบบเนื้อแนบเนื้อระหว่างมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด ทวารหนักหรือทางปากกับผู้ติดเชื้อใน 2 ระยะแรก นอกจากนี้ สามารถติดต่อกันได้จากการสัมผัสโดยตรงที่แผลเปิดบริเวณต่าง ๆ เช่น ริมฝีปาก ปาก หน้าอกหรืออวัยวะเพศ ผู้ป่วยซิฟิลิสระยะที่สามมักจะไม่สามารถแพร่เชื้อให้แก่ผู้อื่นได้

ซิฟิลิสเป็นโรคที่สามารถติดต่อกันได้ง่ายมาก หากมีผื่นหรือแผล แต่ก็สามารถติดต่อกันได้ถึงแม้ว่าผู้ติดเชื้อไม่แสดงอาการ บางครั้งก็สามารถติดต่อกันได้ทางการปนเปื้อนของเลือด การบาดเจ็บจากเข็มฉีดยาหรือการใช้เข็มฉีดยาหรืออุปกรณ์ฉีดร่วมกัน

หญิงตั้งครรภ์ที่มีเชื้อซิฟิลิสสามารถแพร่เชื้อให้แก่ทารกในครรภ์หรือขณะคลอดได้

ซิฟิลิสสามารถติดต่อกันได้จาก

  • การทำกิจกรรมทางเพศใด ๆ ก็ตามที่อวัยวะเพศ ทวารหนักหรือปากของคุณสัมผัสกับแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดซิฟิลิส
  • การถู การดุนและการสัมผัสแบบเนื้อแนบเนื้อรูปแบบอื่น ๆ ที่สัมผัสกับอวัยวะเพศ ทวารหนักและ/หรือปาก
  • การมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักหรือช่องคลอดโดยไม่ป้องกัน
  • การมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักหรือช่องคลอดแบบป้องกัน/ปกคลุม แต่ผิวหนังสัมผัสกับบริเวณที่มีเชื้อซิฟิลิส
  • การมีเพศสัมพันธ์ทางปากโดยไม่สวมถุงยางอนามัย
  • การมีเพศสัมพันธ์ทางปากแบบป้องกัน/ปกคลุม แต่ปากสัมผัสกับบริเวณที่มีเชื้อ
  • นิ้วของคุณสัมผัสกับตุ่มที่เกิดจากเชื้อซิฟิลิส จากนั้นสัมผัสเยื่อเมือกของตนเอง (เช่น ตา ด้านในจมูกหรือปาก หรืออวัยวะเพศ)
  • การใช้เซ็กส์ทอยร่วมกัน
  • ซิฟิลิสสยังติดกันได้ระหว่างตั้งครรภ์และคลอดบุตรด้วย

การสัมผัสน้ำลายกันแต่ไม่ได้สัมผัสบริเวณที่มีเชื้อซิฟิลิสภายในช่องปากของอีกคนโดยตรง ถือว่ามีความเสี่ยงต่ำ

คุณไม่สามารถติดซิฟิลิสจากการรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มร่วมกัน การกอด การจับมือ การไอ การจาม การใช้ผ้าเช็ดตัวร่วมกันหรือการนั่งบนฝาชักโครก

การติดต่อจากเลือดสู่เลือด

แม้ว่าจะเกิดขึ้นได้ยากมาก แต่ซิฟิลิสสามารถติดต่อจากเลือดสู่เลือดได้ 

การแพร่เชื้อซิฟิลิสจากเลือดสู่เลือดสามารถเกิดขึ้นได้เมื่อมีการใช้เข็มฉีดยาหรืออุปกรณ์ฉีดร่วมกัน หรือเมื่อเลือดสัมผัสกับแผลเปิดหรือแผลที่มีเลือดไหล เช่น แผลเปื่อยหรือมีเลือดออกตามไรฟัน มีคนน้อยมากที่จะติดซิฟิลิสจากการสัมผัสเลือด

การป้องกัน

เนื่องจากซิฟิลิสอาจจะไม่แสดงอาการ จึงแนะนำเป็นอย่างยิ่งให้เข้ารับการตรวจสุขภาพทางเพศเป็นประจำ คุณสามารถดูรายชื่อคลินิกสุขภาพทางเพศที่ยินดีต้อนรับคนทำงานบริการได้ที่สถานที่ตรวจของเรา

วิธีเพิ่มเติมในการป้องกันการแพร่เชื้อซิฟิลิส ได้แก่

  • การตรวจลูกค้าเพื่อหาอาการของ STI ที่สังเกตเห็นได้ก่อนให้บริการ ใช้ไฟส่องและถุงมือ หากทำได้
  • ล้างมือหลังจากตรวจ หากคุณไม่ได้สวมถุงมือ
  • ใช้ถุงยางอนามัยและแผ่นยางอนามัยขณะที่สัมผัสอวัยวะเพศ – อย่าลืมว่าโรคนี้มักจะไม่แสดงอาการ
  • ใช้ถุงยางอนามัยและ/หรือแผ่นยางอนามัยระหว่างที่มีออรัลเซ็กส์/ใช้ปากกับทวารหนักและตรวจหาอาการของซิฟิลิสบริเวณที่ถุงยางอนามัยหรือแผ่นยางอนามัยไม่ได้ปกคลุม
  • ใช้ถุงยางอนามัยหุ้มเซ็กส์ทอย และล้างทำความสะอาดแล้วเปลี่ยนถุงใหม่ก่อนใช้กับตัวเอง
  • ใช้ผ้าพันแผลปิดบริเวณที่ดูเหมือนเป็นอาการของซิฟิลิสระยะแรก
  • คลุมบริเวณที่แสดงอาการของซิฟิลิสระยะแรกด้วยผ้าเช็ดตัว
  • คิดทบทวนเรื่องการจูบแบบดูดดื่มอีกครั้ง
  • ถูหรือใช้ลำตัวไล้ โดยให้อีกฝ่ายนอนคว่ำเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้อวัยวะเพศสัมผัสบริเวณที่แสดงอาการของซิฟิลิสระยะแรก
  • ลดการสัมผัสอวัยวะเพศ
  • ใช้เข็มฉีดยาและอุปกรณ์ฉีดใหม่ที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้วเสมอ และทิ้งอย่างปลอดภัย คุณสามารถใช้เว็บไซต์นี้เพื่อค้นหาโครงการเข็มฉีดยาที่ใกล้บ้านคุณ (NSP)

การตรวจ

ข้อมูลการตรวจซิฟิลิสมีดังต่อไปนี้ คุณสามารถดูรายชื่อคลินิกสุขภาพทางเพศที่ยินดีต้อนรับคนทำงานบริการได้ที่สถานที่ตรวจของเรา

วิธีตรวจ

  • การตรวจเลือด
  • การใช้ไม้สวอบเก็บตัวอย่างผิวหนังที่มีอาการซิฟิลิสระยะแรก

ควรตรวจเมื่อใด

  • เป็นไปได้ที่จะตรวจพบเชื้อซิฟิลิสจากการตรวจเลือด หลังจากได้รับเชื้อมาเพียง 1-2 สัปดาห์ แต่มีแนวโน้มที่จะตรวจพบได้มากขึ้นหลังจาก 6 สัปดาห์เป็นต้นไป
  • เข้ารับการตรวจ หากคุณคิดว่าอาจจะมีอาการของซิฟิลิส
  • เข้ารับการตรวจ หากคุณคิดว่าอาจจะสัมผัสเชื้อซิฟิลิส

ข้อมูลอื่น ๆ

  • การตรวจหาซิฟิลิสควรรวมอยู่ในการตรวจ STI ตามปกติ แต่ก็ควรสอบถามแพทย์หรือพยาบาลของคุณเพื่อให้แน่ใจว่ามีการตรวจโรคนี้ให้คุณด้วย
  • คลินิกสุขภาพทางเพศมักจะไม่เรียกเก็บค่าตรวจ ถึงแม้ว่าคุณจะไม่มีสวัสดิการ Medicare การตรวจก็น่าจะฟรี
  • คุณอาจจะต้องเสียค่าธรรมเนียมหรือฟรีโดยแพทย์เรียกเก็บเงินจากรัฐบาล หากคุณพบแพทย์ GP

การรักษา

ซิฟิลิสรักษาได้และการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ จะดีที่สุด ข้อมูลที่คุณต้องทราบเกี่ยวกับการรักษาโรคนี้มีดังนี้

วิธีรักษา

  • การฉีดยาปฏิชีวนะบริเวณแก้มก้นหรือข้างสะโพกโดยแพทย์หรือพยาบาลที่คลินิก
  • การฉีดยาเพียงครั้งเดียวจะรักษาซิฟิลิสระยะแรกให้หายขาดได้ แต่สำหรับระยะต่อมาจะต้องฉีดยา 3 ครั้ง โดยเว้นช่วงครั้งละหนึ่งสัปดาห์
  • หากคุณแพ้ยาเพนิซิลิน ก็สามารถรับประทานยา 14 หรือ 28 วันแทนได้

ค่าใช้จ่ายและข้อมูลอื่น ๆ 

  • คุณจะได้รับการตรวจซ้ำอีกครั้งหลังการรักษา 3 เดือน และมักจะตรวจอีกหลังการรักษาไปแล้ว 6 เดือนและ 12 เดือน
  • ซิฟิลิสรักษาให้หายขาดได้ แต่ร่างกายคุณจะไม่สร้างภูมิคุ้มกัน คุณจึงอาจติดซิฟิลิสได้อีก
  • คลินิกสุขภาพทางเพศมักจะไม่เรียกเก็บค่ารักษา ถึงแม้ว่าคุณจะไม่มีสวัสดิการ Medicare การรักษาก็น่าจะฟรี 
  • คุณอาจจะต้องเสียค่าธรรมเนียมหรือฟรีโดยแพทย์เรียกเก็บเงินจากรัฐบาล หากคุณพบแพทย์ GP 
  • การติดเชื้อซิฟิลิสสามารถเพิ่มความเสี่ยงในการได้รับและการแพร่เชื้อเอชไอวีได้

หนองในแท้อาจจะกระทบต่องานของฉันได้อย่างไร

ข้อควรพิจารณาในทางปฏิบัติ

  • ขอแนะนำให้คุณงดการมีเพศสัมพันธ์เป็นเวลา 7 วันหลังจากรักษาโรคแล้ว 
  • หากคุณไม่สามารถหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ได้ การใช้ถุงยางอนามัยจะช่วยลดโอกาสในการแพร่เชื้อซิฟิลิส แต่ไม่สามารถรับประกันได้เนื่องจากถุงยางอนามัยจะป้องกันเฉพาะผิวหนังส่วนที่สวมใส่เท่านั้น 
  • ยาปฏิชีวนะบางประเภทสามารถลดประสิทธิภาพของยาคุมกำเนิดชนิดรับประทาน (‘ยาคุม’) ได้
  • หากคุณมักเป็นเชื้อราเมื่อทานยาปฏิชีวนะ คุณก็ควรทานพวกโพรไบโอติกส์ระหว่างและหลังการรักษาเพื่อป้องกันภาวะเชื้อราในช่องคลอด
  • คุณควรแจ้งบุคคลที่ทำงานขึ้นคู่กับคุณด้วย หากคุณมีผลตรวจซิฟิลิสเป็นบวก

ข้อควรพิจารณาด้านกฎหมายและการแจ้งผลตรวจ

  • บางรัฐและดินแดนอาจจะมีกฎหมายที่กำหนดว่าการทำงานบริการหรือการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างที่ป่วยเป็นโรค BBV หรือ STI มีความผิด ตรวจดูข้อมูลทางกฎหมายและ BBV STI หรือติดต่อองค์กรเพื่อคนทำงานบริการในพื้นที่ เพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม
  • การติดตามผู้สัมผัสโรคในผู้ที่เป็นอดีตคู่นอน (หรือที่เรียกว่า ‘การแจ้งผลแก่ผู้สัมผัสโรค’) เป็นการแจ้งผลแก่ผู้สัมผัสโรค BBV และ STI บางประเภท ซึ่งการแจ้งผลแก่ผู้สัมผัสโรคนี้ควรดำเนินการโดยคำนึงถึงความเสี่ยงในการแพร่เชื้อและเคารพต่อสิทธิส่วนบุคคลของคนทำงานบริการ องค์กรเพื่อคนทำงานบริการในพื้นที่ของคุณสามารถให้คำแนะนำเกี่ยวกับช่องทางการแจ้งเตือนคู่นอนเพื่อรับรองว่าเหมาะสมกับสถานการณ์ของคุณ
  • ซิฟิลิสเป็นโรคที่จำเป็นต้องแจ้งผลทั่วประเทศในออสเตรเลีย ซึ่งก็หมายความว่าผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าป่วยเป็นโรคซิฟิลิสจะถูกรายงานไปยังหน่วยงานสาธารณสุขของรัฐหรือดินแดนนั้น ๆ โดยไม่มีการระบุชื่อผู้ป่วย 

You Might Also Be Interested In…

What are BBV & STI?

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit, sed do eiusmod tempor incididunt ut labore et dolore magna aliqua. Ut enim ad minim veniam, quis nostrud exercitation ullamco laboris nisi ut aliquip ex ea commodo consequat.

Testing Timeframes

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit, sed do eiusmod tempor incididunt ut labore et dolore magna aliqua. Ut enim ad minim veniam, quis nostrud exercitation ullamco laboris nisi ut aliquip ex ea commodo consequat.

Alternative Services

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit, sed do eiusmod tempor incididunt ut labore et dolore magna aliqua. Ut enim ad minim veniam, quis nostrud exercitation ullamco laboris nisi ut aliquip ex ea commodo consequat.

Testing Locations

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit, sed do eiusmod tempor incididunt ut labore et dolore magna aliqua. Ut enim ad minim veniam, quis nostrud exercitation ullamco laboris nisi ut aliquip ex ea commodo consequat.